‘พิลาทิส’ ที่แตกต่างจาก ‘โยคะ’ : รู้จักวิธีดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน

หลายคนอาจคิดว่า ‘พิลาทิส’ (Pilates) กับ ‘โยคะ’ (Yoga) เป็นการออกกำลังกายที่คล้ายกัน แต่แท้จริงแล้ว พิลาทิสจะเน้นการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่ช่วยรักษาสมดุลให้กับแนวกระดูกสันหลัง ส่วนโยคะจะเน้นการสำรวจจิตใจ และมุ่งสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อเป็นหลัก

กล่าวคือพิลาทิสจะมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การพัฒนาความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้แก่ผู้ฝึกไปพร้อมกัน แต่เหนืออื่นใด มันคือการฝึกให้ร่างกายของเราสามารถ ‘ออกแรงได้อย่างสมดุล’ โดยรู้จักวิธีควบคุมกล้ามเนื้อกับลมหายใจไปด้วยอยู่ตลอดเวลา

พิลาทิสจึงกลายมาเป็นเทรนด์การออกกำลังกายในหมู่นักแสดง, ไอดอล รวมถึงนักกีฬาทั่วโลก (เช่น เจนนี่ วง Blackpink) ซึ่งกว่าที่เหล่าเซเลบฯ จะได้หุ่นสวยๆ มานั้น ก็เป็นผลมาจากการฝึกฝนพิลาทิสอย่างสม่ำเสมอจนร่างกายมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น พร้อมที่จะโพสท่าและทำงานด้วยความมั่นใจได้อย่างที่เราเห็นกันนั่นเอง

“พิลาทิส (Pilates) เหมือน โยคะ (Yoga) หรือคล้ายๆ กันใช่ไหมครู?” น่าจะเป็นหนึ่งในคำถามยอดนิยมที่เหล่าผู้ฝึกหน้าใหม่ มักโยนใส่ผู้สอน (Instructor) ในห้องเรียนพิลาทิสหนแรกๆ

ในการตอบคำถามข้างต้นเพื่อให้ผู้เริ่มฝึกเข้าใจพิลาทิสเสียใหม่ ครูบางคนอาจอ้างถึง ‘วิธีการหายใจ’ ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน เพราะพิลาทิสจะหายใจเข้าทางจมูกและหายใจออกทางปาก ขณะที่โยคะจะหายใจเข้าและออกผ่านทางจมูกเป็นหลัก แต่ถ้าต้องตอบอย่างเจาะจงลงลึก ก็อาจบอกได้ว่า พิลาทิสจะเน้นการฝึกกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัวที่ช่วยรักษาสมดุลให้กับแนวกระดูกสันหลัง ส่วนโยคะจะเน้นการสำรวจจิตใจและมุ่งสร้างความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อเป็นหลัก

ศาสตร์จากโลกตะวันตกอย่างพิลาทิสริเริ่มมาจาก โจเซฟ พิลาทิส ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในประเทศอเมริกามานานหลายทศวรรษ ก่อนที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นเทรนด์การออกกำลังกายในหมู่นักแสดง, ไอดอล รวมถึงนักกีฬาทั่วโลก

ไม่ว่าหญิงหรือชาย ทุกคนก็สามารถฝึกพิลาทิสได้

ชายหนุ่มหญิงสาวคนดังในข้างต้น อาจเป็นเพียงตัวอย่างเล็กๆ สำหรับคนที่หลงใหลในศาสตร์ดังกล่าว แต่อันที่จริง พิลาทิสนั้นเหมาะกับ ‘คนทุกเพศทุกวัย’ เพราะมันคือศาสตร์แห่งการควบคุมร่างกายให้สอดรับกับลมหายใจ และเป็นการฝึกสั่งการสมองเพื่อควบคุมกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ อย่างเป็นระบบ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่นักกายภาพฟื้นฟูหลายคนมักแนะนำให้คนไข้ที่ต้องทำกายภาพบำบัดไปฝึกพิลาทิส เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติและมีสมดุลได้ง่ายขึ้น

พิลาทิสเป็นการออกกำลังกายที่ค่อยๆ เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยตลอดช่วงหลายปีมานี้ และในอนาคตก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกันมากขึ้น เนื่องด้วยเอกลักษณ์อันน่าทดลองใช้ของอุปกรณ์พิลาทิสที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น รีฟอร์มเมอร์, คาร์ดิลแลก, สเตบิลิตี้ แชร์ และ แลดเดอร์ บาร์เรล

รีฟอร์เมอร์ (Reformer) คืออุปกรณ์ที่ฟิตเนสและสตูดิโอพิลาทิสส่วนมากเลือกใช้ เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่สามารถออกกำลังได้ทุกส่วนของร่างกาย ลักษณะของเครื่องนี้คล้ายกับเตียงนอนโดยตัวเบาะนอน (Carriage) จะสามารถขยับเคลื่อนที่ได้ตามแนวราบ และมีสปริงทำหน้าที่เป็นแรงต้าน โดยผู้ฝึกต้องออกแรงกับแรงต้านของสปริง เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อมัดที่ต้องการ

คาดิลแลก (Cadillac) เป็นอุปกรณ์ชิ้นแรกที่ “โจเซฟ พิลาทิส” สร้างขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากเตียงผู้ป่วยสนามช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการเพิ่มสปริงเข้าไปเพื่อให้เกิดแรงต้าน ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ฝึกทุกระดับ ตั้งแต่ผู้เริ่มฝึกใหม่ไปจนถึงผู้ฝึกในระดับสูง ซึ่งการฝึกอุปกรณ์ชิ้นนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือครูผู้ฝึกมืออาชีพเท่านั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากท่าฝึกและเน้นในความถูกต้องของการใช้กล้ามเนื้อแต่ละส่วน

สเตบิลิตี้ แชร์ (Stability Chair) อาจดูมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับเก้าอี้ตามบ้าน ที่แม้จะดูเป็นอุปกรณ์ชิ้นเล็ก แต่ผู้ฝึกทุกระดับย่อมรู้ดีในอานุภาพของมัน เพราะความ ‘จิ๋วแต่แจ๋ว’ ของแชร์สามารถทำให้เราเหนื่อยได้ไม่ใช่เล่น โดยท่าออกกำลังกายที่โดดเด่นของอุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ ท่าบริหาร ‘ครึ่งล่าง’ ของร่างกาย ตั้งแต่ต้นขา, ก้น, ขาด้านหลัง, น่อง ไปจนถึงกล้ามเนื้อเล็กๆ ที่ปลายเท้า ซึ่งต้องผ่านการควบคุมจากหน้าท้องเพื่อประคองลำตัวให้อยู่นิ่งได้มากที่สุด

แลดเดอร์ บาร์เรล (Ladder Barrel) มีรูปร่างทางกายภาพที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้สอดรับกับการออกกำลังกายที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลัง รวมไปถึงกล้ามเนื้อมัดอื่นๆ ซึ่งมันจะช่วยสร้างความแข็งแรงพร้อมกับพัฒนาความยืดหยุ่นให้ไปในเวลาเดียวกัน และแม้มันจะเหมาะกับผู้ฝึกทุกระดับ แต่ก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของเทรนเนอร์มืออาชีพเช่นกัน

อย่างไรก็ดี การฝึกพิลาทิสไม่จำเป็นต้องฝึกบนอุปกรณ์เหล่านี้เท่านั้น แต่ยังมีอุปกรณ์ที่เรียบง่ายและราคาไม่แพงอย่าง ‘เสื่อพิลาทิส’ (Pilates Mat) ซึ่งแตกต่างจากเสื่อโยคะตรงความ ‘หนา’ และความ ‘นุ่ม’ ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับการกดทับกับพื้นของกล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะในท่าออกกำลังกายที่ผู้ฝึกต้องนอนลง (ส่วนเสื่อโยคะจะ ‘บาง’ และ ‘หนืด’ กว่าเพื่อป้องกันการลื่น) ซึ่งแม้ท่าฝึกบนเสื่อหลายท่าของพิลาทิสจะคล้ายคลึงกับท่าโยคะ หากแต่ท่าพิลาทิสจะเน้นไปที่แกนกลางของลำตัวเป็นหลัก ต่างจากโยคะที่เน้นการยืดเหยียดของกล้ามเนื้อ

เมื่อพิลาทิสให้ความสำคัญกับการสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว และรักษาสมดุลให้กับกล้ามเนื้อแนวกระดูกสันหลัง รวมไปถึงเป็นการปรับบุคลิกภาพ โดยนำเอาหลักการเคลื่อนไหวทางกายวิภาคมาออกแบบเป็นท่าออกกำลัง …ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ศาสตร์นี้อย่างจริงจัง ผู้ฝึกพิลาทิสแต่ละคนจึงต้องได้รับการปูพื้นฐานเบื้องต้นในช่วงแรกๆ เกี่ยวกับเรื่องการหายใจแบบพิลาทิส (Breathing), การวางตำแหน่งของอุ้งเชิงกราน (Pelvic Placement), การวางตำแหน่งซี่โครง (Rib Cage Placement), การเคลื่อนไหวและการควบคุมสะบักให้มั่นคง (Scapular Movement & Stabilization) และการวางตำแหน่งของศีรษะและต้นคอ (Head & Cervical Placement) เพื่อให้การฝึกฝนร่างกายด้วยศาสตร์นี้ได้ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับตัวผู้ฝึก

ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า กว่าที่เหล่าเซเลบฯ จะได้หุ่นสวยๆ มานั้น ก็เป็นผลมาจากการฝึกฝนพิลาทิสอย่างสม่ำเสมอจนร่างกายมีความแข็งแรงและยืดหยุ่น พร้อมที่จะโพสท่าและทำงานด้วยความมั่นใจได้อย่างที่เราเห็นกันนั่นเอง ซึ่งการจะได้มาซึ่งสุขภาพที่ดี ร่างกายที่แข็งแรงอย่างยั่งยืน (และไม่ปวดหลังได้ง่ายเมื่อตอนอายุมากขึ้น) การออกกำลังกายอย่างถูกต้องถือเป็นสิ่งสำคัญและไม่ควรมองข้ามสำหรับทุกคน

และบางที ‘พิลาทิส’ ก็อาจกลายเป็นคำตอบของใครหลายคนก็เป็นได้

ที่มา : thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty

ติดตามเรา

spot_img

Related Articles

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com