Home เทรนนิ่ง Afterburn Effect Afterburn Effect คืออะไร ออกกำลังกายแบบไหนให้เบิร์นหลังฟิต?

Afterburn Effect คืออะไร ออกกำลังกายแบบไหนให้เบิร์นหลังฟิต?

รู้หรือไม่ว่าการออกกำลังกายไม่ได้แค่เบิร์นหรือเผาผลาญแคลอรี่เฉพาะตอนที่เราออกกำลังกายเพียงแค่นั้น แต่ยังมีปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Afterburn Effect ที่จะช่วยให้คุณเบิร์นหลังออกกำลังกายด้วย สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า Afterburner Effect คืออะไร ไปหาคำตอบพร้อมกับพวกเรได้เลย

Afterburn Effect คือการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นหลังการออกกำลังกาย หรือเรียกอีกอย่างว่า EPOC (Exercise Post Oxygen Consumption) เป็นภาวะที่ร่างกายพยายามปรับสมดุลเพื่อให้กลับสู่สภาพปกติหลังจากการออกกำลัง

โดยใช้ออกซิเจนจำนวนมากกว่าปกติ ก่อให้เกิดการเผาผลาญอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นยิ่งออกกำลังกายหนักมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ซึ่ง Afterburn Effect นี้จะเป็นการเบิร์นแม้กระทั่งตอนที่เรานอนหลับอยู่นั่นเอง

Afterburn Effect เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ปกติร่างกายของคนเราจะต้องการออกซิเจนเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย โดยมีความต้องการแปรผันไปตามความหนักของกิจกรรมที่ทำ

ขณะที่พักหรือหยุดนิ่งออกซิเจนในร่างกายจะอยู่ในระดับปกติ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงที่มีการเริ่มออกกำลังกาย ร่างกายก็จะเริ่มต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น

ในช่วงเเรกของการออกกำลังกายนั้น ร่างกายจะยังไม่สามารถนำออกซิเจนมาใช้ได้มากพอจึงต้องนำพลังงานจากระบบ Anaerobic ซึ่งเป็นการดึงไขมันมาใช้เเทนออกซิเจนมาใช้ก่อน จึงทำให้ร่างกายยังคงออกกำลังกายได้

เเละเมื่อเราออกกำลังกายเสร็จระดับความต้องการออกซิเจนนั้นยังไม่ได้ลดลงไปในทันที แต่ร่างกายจะค่อยๆทยอยคืนออกซิเจนในส่วนที่ยืมมาจาก Anaerobic มาในตอนแรก

ซึ่งการใช้ออกซิเจนทุกๆ 1 ลิตร ต้องใช้พลังงานประมาณ 5 แคลอรี่ ดังนั้นเมื่อใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้น จึงเผาผลาญได้มากขึ้น นั่นคือสาเหตุว่าทำไมร่างกายจึงเผาผลาญพลังงานสูงกว่าอัตราปกติ แม้จะหยุดออกกำลังกายไปแล้วก็ตาม หรือที่เรียกกันว่า Afterburn Effect นั่นเอง

ออกกำลังกายแบบไหนให้ Afterburn Effect มากที่สุด?

หลายคนอาจมีคำถามการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนมีอะไรบ้าง การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจนมีอะไรบ้าง และการออกกำลังกายแบบไหนดีกว่ากัน

เราจะบอกกับทุกคนว่า การออกกำลังกายไม่ว่าจะชนิดใดก็สามารถเกิด Afterburn Effect ได้เหมือนกันหมด แต่ถ้าอยากให้ Afterburn Effect นี้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ก็จำเป็นต้องเลือกการออกกำลังกายที่มีความเข้นข้นมากกว่าปกติ แต่การออกกำลังกายที่ว่าไปนั้นมีอะไรบ้าง แบ่งประเภทยังไงไปดูพร้อมๆกันเลย

1.การออกกำลังแบบ Cardio

การออกกำลังกายแบบ Cardio หรือแอโรบิก (Aerobic exercise) หมายถึง การออกกำลังกายที่จำเป็นต้องใช้อากาศหรือออกซิเจน และเป็นการใช้ออกซิเจนในปริมาณที่เหมาะสมระหว่างออกกำลังกาย

การออกกำลังกายแบบ Cardio ถือเป็นการออกกำลังที่ดึงไขมันมาใช้อย่างตรงจุดขณะที่ออกกำลังกาย เพียงแค่ต้องทำให้อยู่ในโซนสลายไขมันและทำในเวลาที่นานเพียงพอ

โดยส่วนมาก Cardio จะเป็นการออกกำลังที่มีความเข้มข้นต่ำถึงปานกลาง (ประมาณ 50-70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด) และสามารถทำติดต่อกันเป็นเวลานาน แล้วการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนมีอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น การวิ่ง การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ หรือการเดิน เป็นต้น

อีกทั้งการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นต่ำอย่าง Cardio นี้ ยังลดความเสี่ยงของอกการบาดเจ็บต่างๆระหว่างออกกำลังกายและไม่ทำให้เสียมวลกล้ามเนื้ออีกด้วย

2.การออกกำลังแบบ HIIT

HIIT (High Intensity Interval Training) คือการออกกำลังที่มีความเข้มข้นสูง ในระยะเวลาสั้น ทำให้อัตราการเต้นหัวใจสูงขึ้นถึง 85-90% และหยุดพักให้อัตราลดลงมา ก่อนที่จะกลับไปออกกำลังกายแบบเดิมวนซ้ำแบบนี้ไป

แม้ว่าจะเป็นการออกกำลังที่มีเป้าหมายเพื่อสลายไขมัน แต่ HIIT เป็นการออกกำลังกายแบบแอนแอโรบิก (Anaerobic exercise) หรือการออกกำลังกายที่ไม่ใช้ออกซิเจน เป็นการออกกำลังกายจำพวกเดียวกับการวิ่งระยะสั้นหรือการออกกำลังเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Training)

จุดเด่นของ HIIT อยู่ที่การเบิร์นหลังจากออกกำลัง (Exercise Afterburn) เพราะการออกกำลังที่มีความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดการนำพลังงานมาทดแทน กล่าวคือเมื่อสูญเสียแหล่งพลังงานหลักอย่างคาร์โบไฮเดรตไปแล้วร่างกายจึงนำไขมันมาใช้ทดแทน ซึ่ง Afterburn Effect คือภาวะการเบิร์นหลังออกกำลังกายที่สามารถเกิดขึ้นได้นานถึง 48 ชั่วโมงนั่นเอง

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการออกกำลังกายแบบ HIIT เป็นการออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นสูง ดังนั้นจึงไม่ควรทำมากกว่า3ครั้งต่อสัปดาห์ ควรเเบ่งเวลาให้ร่างกายได้พักผ่อน ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเครียดอีกด้วย

สรุป

Afterburn Effect คือการใช้ออกซิเจนเพิ่มขึ้นหลังการออกกำลังกาย หรือเรียกอีกอย่างว่า EPOC (Exercise Post Oxygen Consumption) กล่าวคือยิ่งออกกำลังกายหนักมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

ซึ่ง Afterburn Effect นี้จะเป็นการเบิร์นแม้กระทั่งตอนที่เรานอนหลับอยู่นั่นเอง และการออกกำลังกายไม่ว่าจะแบบไหนก็ตามก็สามารถส่งผลให้เกิด Afterburn Effect ได้ แต่หากอย่างให้เกิดประสิทธิภาพก็จำเป็นต้องเลือกการออกกำลังกายที่มีความเข้นข้นสูง เช่น การอออกำลังกายแบบ HIIT นั่นเอง

ที่มา : fitfriend.co

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com
Exit mobile version