กินเค็ม พฤติกรรมเสี่ยงโรคร้าย อาจตายไม่รู้ตัว!

หลายคนคงชอบกินอาหารที่มีรสชาติเค็ม หวาน หรือมัน เพราะเป็นรสชาติที่ทำให้รู้สึกอยากอาหาร ยิ่งกินยิ่งอร่อย แต่รู้ไหมคะว่าความอร่อยเหล่านี้ ทำให้คนเสียชีวิตมาไม่น้อยแล้ว บางคนอาจจะคิดว่า “ไม่ได้ปรุงเพิ่ม ไม่เสี่ยงหรอก” แต่แท้จริงแล้ว แม้เราจะไม่ได้ปรุงเพิ่ม แต่ปริมาณน้ำตาล โซเดียม หรือน้ำมัน มันแฝงตัวอยู่ในอาหารแบบที่เรากินโดยไม่รู้ตัวเลยค่ะ ดังนั้น มาเช็กดูกันว่า คุณมีความเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายจากการ กินเค็ม มากน้อยแค่ไหน

แบบทดสอบพฤติกรรม กินเค็ม กินหวาน กินมัน คุณเสี่ยงเป็นโรคร้ายหรือไม่?

อาหารเค็ม หวาน และมัน เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคร้าย ที่เรียกว่า NCDs หรือชื่อเต็ม คือ Non – Communicable Diseases คือ กลุ่มโรคที่ไม่มีการติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคเหล่านี้ ส่วนใหญ่เกิดมาจากโซเดียม น้ำตาล และไขมัน หรือก็คือพวกอาหารรสเค็ม หวาน มัน ที่คนส่วนใหญ่ชอบกิน

รู้หรือไม่? กินเค็ม ไม่ได้เสี่ยงโรคไตแค่อย่างเดียว


รสเค็ม ได้มาจากโซเดียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุลของของเหลวในร่างกาย และรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ อีกทั้งยังช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ตลอดจนดูดซึมสารอาหาร บางอย่างในไต และลำไส้เล็ก

ทุกคนพอจะทราบอยู่แล้วว่า การกินอาหารรสเค็มหรือได้รับโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากเกินไป จะทำให้เป็นโรคไต นอกจากนี้ การกินเค็มมาก ๆ ไม่ได้เสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำไปสู่โรคร้ายอื่น ๆ ด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง โดยการที่มีโซเดียมในร่างกายปริมาณมาก จะส่งผล ดังนี้ค่ะ

1.ไตทำงานหนักขึ้น เพื่อเพิ่มการกรองโซเดียมและน้ำส่วนเกินของร่างกาย ทำให้ความดันในไตสูงขึ้น และเกิดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารบางอย่างซึ่งมีผลทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น

2.เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถกำจัดเกลือและน้ำส่วนเกินในร่างกายได้ ทำให้เกิดการคั่งของเกลือและน้ำในอวัยวะต่าง ๆ ทำให้แขน ขา บวม เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก

3.ทำให้ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง คนอ้วน และผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดผลเสียต่อหลอดเลือดในอวัยวะต่าง ๆ เช่น หัวใจ สมอง จนทำให้เกิดโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

เห็นไหมคะว่าโรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นที่ไตเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการบริโภคอาหารให้มาก โดยแพทย์แนะนำให้บริโภคโซเดียมได้ไม่เกินวันละ 1 ช้อนชาต่อวัน (หรือ 2,000 มิลลิกรัม)

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องระวังคืออาหารที่ไม่ได้มีรสเค็ม แต่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารแช่แข็ง ไส้กรอก

บางท่านอาจสงสัยว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่กินมีโซเดียมไหม? ไม่ยากเลยค่ะ สิ่งสำคัญคือการอ่านฉลากก่อนซื้อ โดยเลือกที่มีโซเดียมไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หากเป็นอาหารทั่วไปที่ไม่มีฉลาก ให้ดูวัตถุดิบที่ใช้ทำ ซึ่งโซเดียมมักอยู่ในรูปของเกลือ น้ำปลา กะปิ ผงชูรส ผงฟู เป็นต้น

ที่มา : allwellhealthcare.com

ติดตามเรา

spot_img

Related Articles

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com