10 เหตุผล ทำไมออกกำลังกายไม่ผอม น้ำหนักไม่ลด ?

ในยุคที่อัตราคนเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 61 เปอร์เซ็นต์ของคนอังกฤษวัยทำงานกำลังเป็นโรคอ้วน คนไทยเองก็มีอาหารการกินที่ดี ขนมชนิดใหม่ๆออกมาขายรายวัน หลาย ๆ คนก็เลยเลือกที่จะเริ่มออกกำลังกายจะได้กินได้อีก แต่หลายคนก็จะประสบปัญหาตามมาว่า ออกกำลังกายแทบตายทำไมแทบไม่ผอมลงเลย ในบทความนี้เราลองไปหาคำตอบกันว่ามีสาเหตุเพราะอะไร และแก้ไขยังไงได้บ้าง

10 เหตุผล ออกกำลังกายไม่ผอมซักที?

สาเหตุหลักอาจมาจากความเข้าใจผิดและการโฟกัสไม่ถูกจุด ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์สามารถตอบคำถามนี้ได้แล้ว ผลวิจัยล่าสุดจากมหาวิยาลัย Loughborough เปิดเผยว่าในบางครั้งการยิ่งออกกำลังกายอาจทำให้น้ำหนักยิ่งขึ้นได้ เหตุที่เป็นแบบนี้เนื่องจากนักวิจัยเชื่อว่าผู้คนมักรับประทานอาหารมากขึ้นหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงนั้นก็เป็นเพราะพวกเรารู้สึกว่าเราทำดีแล้ว เราสมควรได้รับของรางวัลซึ่งคือการกินนั้นเอง และสิ่งนี้ก็สามารถอธิบายได้ว่าทำไมใครหลายคนถึงบ่นว่ายากแสนยากกว่าจะลดน้ำหนักได้ 1 กิโลเพราะว่าหลังจากที่พวกเขาออกกำลังกาย พวกเขาก็กินมากขึ้นนั่นเอง!!!

1.ออกกำลังกายเพิ่มแล้วก็กินเพิ่ม

ฮั่นแน่ คิดว่าออกกำลังแล้วจะกินอะไรก็ได้งั้นล่ะสิ บอกเลยว่าคิดผิดถนัด ถ้าคุณออกกำลังไปนิดๆหน่อยๆ หรือแม้แต่จะออกกำลังจนเหนื่อยมาก แต่ออกกำลังเสร็จไปกินหมูกะทะ หม่าล่า ชาบู กินบุฟเฟต์แบบไม่บันยะบันยัง ยังไงน้ำหนักคุณก็ไม่ลด การจะผอมหรือลดน้ำหนักคุณต้องดูองค์รวมว่ากินเข้าและเอาออกมากน้อยเท่าไหร่ เหมือนสมการคณิตศาสตร์เลย ถ้าคุณออกกำลัง 200 กิโลแคลอรี่ (kcal) แล้วกินเข้าไป 1000 กิโลแคลอรี่ ยังไงร่างกายก็ต้องสะสม น้ำหนักก็เพิ่มขึ้นแทนที่จะลด ดังนั้นออกกำลังกายแล้วก็ควรใส่ใจดูแลการกินให้ดีด้วยนะ

2.กินไม่พอ

บางคนเข้าใจผิดว่าแค่กินน้อยและออกกำลังกาย น้ำหนักก็จะลดและคุณก็จะผอม ตรงตามหลักการคุมแคลอรี่เข้าให้น้อยกว่าออกด้วย หารู้ไม่น้ำหนักที่ลดไปอาจลดแบบไม่ยั่งยืนพร้อมโยโย่ เพราะเมื่อคุณกินน้อยคุณก็จะหิว และสติแตกหรือความอดทนหมดลงเมื่อไหร่ล่ะก็คงจะกินแบบหน้ามืดเอากลับเข้าไปง่ายๆเลย อีกอย่างหนึ่งคือถ้าคุณตัดปริมาณอาหารอย่างโหดเหี้ยม ร่างกายอันแสนฉลาดก็พาร่างกายเข้าสู้โหมดจำศีล โหมดพิเศษสำหรับการเอาตัวรอดในฤดูหนาว ร่างกายจะเผาผลาญและใช้พลังงานน้อยลงให้มากเท่าที่จะมากได้ จนร่างกายถนอมการเบิร์นแคลอรี่ ไขมัน รวมถึงน้ำหนักนั่นเอง ทางที่ดีควรจะกินให้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำและออกกำลังกายอย่างสมดุบมากกว่านะ!

3.เลือกกินไม่ถูก ตัดอาหารบางขนิดออกจากการกิน

    อะ บางคนอาจจะดูแคลอรี่องค์รวมแล้ว กินถึงเกณฑ์แล้ว แต่ในเมื่อสิ่งที่ทำให้อ้วนที่สุดคือข้าว แป้ง และน้ำตาล ซึ่งก็คือคาร์โบไฮเดรต ก็เลือกไม่กินคาร์บอีกเลย เป็นการไดเอทโหดพร้อมกับออกกำลังด้วย หารู้ไม่ว่า ในภาพรวมคุณควรจะกินให้หลากหลายและครบทุกหมู่ คาร์บอย่างพวกข้าวและแป้งยังเป็นหมวดหมู่ของอาหารที่ช่วยทำให้คุณอิ่ม ทางที่ดีคุณควรเลือกทานให้ครบรวมถึงคาร์บ แต่เลือกคาร์บที่ดีและอิ่มนานกว่า เช่น เลือกข้าวกล้องแทนข้าวขัดขาว หรือ เลือกข้าวโอ๊ตแทนขนมปังอบที่ผ่านการปรุงมาแล้ว อาหารที่ทำมาอย่างซับซ้อนมักจะถูกแปรรูปมาแล้วหลายครั้งเช่นด้วยความร้อน ทำให้โมเลกุลของอาหารเปลี่ยนไปและร่างกายหยิบไปดูดซึมได้เร็วขึ้น เร็วเกินไปจนคุณอยากหาอะไรกินใหม่ได้ในเวลาไม่นาน ดังนั้น รู้อย่างงี้แล้วก็เลือกกินให้ถูกนะ

    4.เบื่ออาหาร

    บางคนลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายแล้วกินแต่ผักแต่สลัด นานเข้าเมื่อทนไม่ไหวก็อาจจะมีอาการเบื่อแล้วไปกินอาหารเมนูอื่นที่ไม่ค่อยดีต่อสุขภาพนักได้

    5.ออกกำลังกายโดยไม่สนใจการทานอาหารหรือคุมอาหาร

    ถ้าตั้งหน้าตั้งตาออกกำลังกาย แล้วกินบ้างไม่กินบ้าง กินเยอะกินน้อย กินดีบ้างแย่บ้าง ไม่มีแบบแผนและระเบียบวินัย อาจทำให้น้ำหนักของคุณไม่ลงก็ได้

    6.นั่งอยู่กับที่ไปขยับเป็นเวลานาน

    นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย University of Missouri–Columbia ที่อเมริกากล่าวว่า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นแล้วว่าหากคุณนั่งนิ่งเป็นเวลานานและแทบไม่ขยับเลย อย่างการนั่งทำงานออฟฟิศอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ร่างกายจะหยุดผลิต lipase เอ็นไซม์ที่ช่วยทำให้คุณลดน้ำหนักได้สำเร็จ (a fat-inhibiting enzyme) ดังนั้น อย่าลืมลุกขึ้นมาเดินและยืดเส้นยืดสายทุกชั่วโมงล่ะ

    7.นอนไม่พอ

    การนอนจะส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อ ถ้านอนไม่พอ ก็มีความเป็นไปได้สูงว่าจะไม่ได้ผอมเท่าที่คุณต้องการ การนอนไม่พอจะกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนในร่างกายของคุณ และฮอร์โมนที่โดนกระทบนั้น ก็จะทำให้การทำงานของเมตาบอลิซึ่มผิดเพี้ยนไปด้วย การศึกษาจาก North American Association for the Study of Obesity พบว่าคนที่ได้นอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อคืนมีความเป็นไปได้มากกว่า 73 % ที่จะมีภาวะอ้วน เมื่อเทียบกับกลุ่มคนที่ได้นอน 7-9 ชั่วโมงต่อวัน

    8.เครียด

    หากเครียด ร่างกายคุณก็จะทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ อาจจะรวนด้วยซ้ำ ความเครียดจึงเป็นศัตรูกับสุขภาพดีและการลดน้ำหนักที่คุณตั้งใจ

    9.ได้น้ำหนักกล้ามเนื้อมาแทน

    ในทางกลับกัน คุณอาจจะสังเกตว่าน้ำหนักไม่ลดเลยและดูไม่ผอม แต่คุณอาจจะออกกำลังกายจนไขมันแปรเปลี่ยนเป็นกล้ามเนื้อไปแล้วก็ได้! ลองสังเกตดูนะว่าช่วงต้นขาต้นแขน ไม่เล็กลง แต่เปลี่ยนจากนิ่มเป็นแข็งแรงเฟิร์มๆ รึเปล่า ?

    10.เป้าหมายการผอมของคุณอาจไม่สอดคล้องกับความเป็นไปได้

    สุดท้าย ที่คุณบอกว่าไม่ผอม อาจเป็นเพราะคุณตั้งเป้าหมายสูงเกินไปรึเปล่า? ทางวิทยาศาสตร์พิสูจน์ไว้แล้วว่า ทางที่ดี ไม่ควรลดน้ำหนักเกินเดือนละ 2 กิโลกรัม เพราะควรจะลดอย่างค่อยเป็นค่อยไป และจะลดความเสี่ยงที่คุณจะโยโย่ด้วยเช่นกัน ลองทบทวนเป้าหมายของคุณดูนะ

    ทำอย่างไรถ้าอยากออกกำลังกายแล้วลดน้ำหนักได้จริง ?

    โดยหลักการแล้ว ถ้าคุณอยากลดน้ำหนัก คุณควรทำให้แคลอรี่ที่คุณกินและนำเข้าร่างกาย น้อยกว่า แคลอรี่ที่คุณนำออกจากการออกกำลังกาย หรือในทางกลับกัน ออกกำลังกายให้เบิร์นแคลอรี่ไปมากกว่าที่กินกลับเข้าไปนั่นเอง อย่าโฟกัสแค่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แต่ดูให้ครบด้าน กินให้ครบ กินให้หลากหลาย เน้นกินโปรตีนเพราะคนส่วนมากมักจะกินโปรตีนไม่ถึงเกณฑ์ อีกทั้งโปรตีนยังจะช่วยสร้างกล้ามเนื้อด้วย กินไขมันน้อยและเน้นที่ไขมันดี ออกกำลังให้ครบทุกแบบเช่นคาร์ดิโอ้เพื่อเบิร์นและเวทเทรนนิ่งเพื่อสร้างกล้ามเนื้อในการเผาผลาญให้มากขึ้น นักวิจัยกล่าวว่าการออกกำลังกายนั้นทำควบคู่ไปกับการคุมอาหารอย่างมีระเบียบเป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักได้ดีเลยทีเดียว นอกจากนี้นักวิจัยยังแนะนำให้เพิ่มกิจกรรมที่ต้องใช้แรงในชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มการออกกำลังกายไปในตัว นี่เป็นอีกหนึ่งหนทางอันชาญฉลาดที่จะช่วยจัดการน้ำหนักได้ นอกจากนี้ยังสามารถทำอย่างอื่นควบคู่ไปกับการกินและออกกำลังกายได้ เช่น Intermittant Fasting (IF) หรือการจำกัดเวลาในการกินในแต่ละวันนั่นเอง

    ที่มา: shopee.co.th

    ติดตามเรา

    spot_img

    Related Articles

    PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com