ข้อดีของการออกกำลังกายนอกจากจะได้เรื่องสุขภาพที่แข็งแรงขึ้นแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพจิตที่ดีขึ้นด้วย! เผยเหตุผลและงานวิจัยรองรับ!
Dr. Glenn Gaesser ศาสตราจารย์ด้านสรีรวิทยาการออกกำลังกาย มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนาในฟีนิกซ์ เชี่ยวชาญเรื่องความไม่เพียงพอของการออกกำลังกาย ได้ศึกษาผลกระทบของการออกกำลังกายเพื่อผลต่อการดูแลองค์ประกอบร่างกายและการเผาผลาญอาหารมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยเน้นเฉพาะผู้ที่เป็นโรคอ้วน งานวิจัยส่วนใหญ่เน้นย้ำถึงความไร้ประโยชน์ของการออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก พบว่าสภาวะปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
รวมทั้งความดันโลหิตสูง ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี หรือการดื้อต่ออินซูลิน ดีขึ้นอย่างมากหลังจากเริ่มออกกำลังกาย ไม่ว่าพวกเขาจะลดน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม
ออกกำลังกายช่วยให้มีความสุขขึ้น
- หลั่งสารแห่งความสุข เอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หลั่งออกมา สารนี้มีประโยชน์ทำให้กล้ามเนื้อที่ตึงตัวจากความเครียดคลายลง ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความผ่อนคลายมากช่วยลดฮอร์โมนแห่งความเครียดที่ คอร์ติซอล Cortisol ลง ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้เองที่เป็นสาเหตุแห่งความชราของคนเรา
- การออกกำลังกายทำให้สารเคมีในสมองที่จำเป็นต่อการควบคุมอารมณ์ อยู่ในภาวะสมดุล ส่งผลให้เรามีอารมณ์ปกติ
- ออกกำลังกายส่งผลต่อจิตใจโดยตรง โดยช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าเราก็ทำได้ กระตุ้นให้เรารู้สึกอยากทำต่อไป
- เบี่ยงเบนความสนใจออกไปจากเรื่องที่ทำให้เราเครียด การยิ่งคิดวนกับเรื่องที่เครียดจะยิ่งทำเครียดมากขึ้น การได้ออกจากความคิดวกวนเหล่านั้นไปให้ความสนใจกับร่างกาย การวางตำแหน่งของร่างกาย การเคลื่อนไหวร่างกาย ก็จะทำให้เราตัดวงจรความเครียดลงได้
- การออกกำลังกายทำให้เราได้พบปะผู้คนมากขึ้น เวลาเครียดคนเรามีแนวโน้มที่จะเก็บตัวอยู่คนเดียวซึ่งจะทำให้ความเครียดเพิ่มมากขึ้น การได้ออกไปออกกำลังกายได้เจอผู้คนจะทำให้ดีขึ้นได้ เช่น ออกไปเดินเล่นแถว ๆ บ้าน ได้ส่งยิ้มให้ผู้คนที่เดินผ่านบ้างก็จะทำให้อารมณ์ดีขึ้น
เริ่มจัดการความเครียดด้วยการออกกำลังกาย!
- เรียนรู้ก่อนว่า เราเหมาะกับการออกกำลังกายแบบไหน ถ้ายังไม่รู้ก็ลองหลาย ๆ อย่างเพื่อให้รู้ว่าเราชอบอะไร
- กำหนดวันว่าจะเริ่มเมื่อไหร่ ป้องกันการผลัดวันประกันพรุ่งเรื่อย ๆ
- บอกเพื่อนหรือคนรอบข้างให้รู้ว่าเรากำลังเริ่มออกกำลังกาย
- ให้คำมั่นสัญญา (commitment) ต่อตนเอง
- เตรียมตัวหาอุปกรณ์ และสถานที่ที่จะไปออกกำลังกาย
- กำหนดเป้าหมายทั้งระยะสั้น กลาง และยาว ของการออกกำลังกาย
- กำหนดให้การออกกำลังกายเป็นส่วนหนึ่งของตารางชีวิต เหมือนกับที่ต้องไปทำงานหรือไปทำธุระ ถือว่าการออกกำลังกายเป็นธุระใหญ่ในการดูแลตนเอง
ขี้เกียจ เบื่อ ไม่อยากทำแล้ว จะทำอย่างไรดี?
พอออกกำลังกายไปได้สักพัก เราจะรู้ว่าอะไรจะเป็นอุปสรรคของเราบ้าง ก็หมั่นทบทวน ป้องกัน แก้ไข อุปสรรคนั้น ๆ เช่น เวลาฝนตกแล้วจะไม่ได้ออกไปวิ่ง ก็อาจจะแก้ด้วยการวิ่งบนลู่วิ่งในโรงยิมแทน เป็นต้น หมั่นทบทวนเป้าหมายของเราเสมอ ว่าออกกำลังกายไปเพื่ออะไร ออกแล้วดีกับตัวเองและคนรอบข้างที่เรารักอย่างไร
ที่มา : pptvhd36.com