Home สุขภาพ อันตราย! “หัวใจวายเฉียบพลัน” อาการแบบไหน อาจเสี่ยงไม่รู้ตัว!

อันตราย! “หัวใจวายเฉียบพลัน” อาการแบบไหน อาจเสี่ยงไม่รู้ตัว!

อันตราย! “หัวใจวายเฉียบพลัน” หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบส่งโรงพยาบาลด่วน เพราะอาจเสี่ยง“ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”ไม่รู้ตัว! แนะวิธีรักษาและลดพฤติกรรมเสี่ยง

หัวใจวายหรือหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เป็นภาวะความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้เพียงพอ และมักไม่แสดงอาการชัดเจนในระยะเริ่ม เมื่อเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือ Heart Attack มักเป็นอย่างฉุกเฉิน ไม่รู้ตัวอาจเกิดในคนที่ดูปกติไม่ทราบว่าเป็นโรคหัวใจมาก่อน โดยเฉพาะเมื่อพบอาการผิดปกติ

ภาพจาก : phyathai3hospital.com

สาเหตุโรคนี้เกิดจากการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน ซึ่งลิ่มเลือดเหล่านี้เกิดจากการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมากเกินไปจนพอกเป็นตะกรัน (plaque) เกาะอยู่ตามผนังของหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินก็ทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าไปในร่างกายได้ แต่กลับฝังตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดแทน เมื่อเวลาผ่านไป ตะกรันนี้จะแตกตัวหรือปริออก หลอดเลือดจะพยายามซ่อมแซมตัวเอง จนเกิดลิ่มเลือดไปอุดกั้นหลอดเลือด ถ้าเป็นการแตกตัวที่หลอดเลือดแขนงเล็ก ผู้ป่วยจะมีเพียงอาการเจ็บหน้าอก แต่ถ้าลิ่มเลือดนี้อุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ก็อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

อาการของภาวะหัวใจล้มเหลว

  • หายใจหอบ หายใจไม่พอ หายใจสั้น
  • เจ็บแน่นหน้าออกหายใจผิดจังว่ะ
  • เหงื่อออก ตัวเย็น
  • คลื่นไส้ อาเจียน หน้ามืด เป็นลม แน่นหน้าอก
  • ขาบวมกดแล้วบุ๋มทั้งสองขา
  • มีการโป่งพองของเส้นเลืดดำที่คอ
  • มีเสียงกอปแกรปที่ชายปอดทั้งสองข้าง
  • คลำพบตับโตกดแล้วเจ็บ
  • ปวดจุกท้อง บริเวณลิ้นปี่ หรือปวดร้าวขึ้นไปที่กรามหรือไหล่โดยเฉพาะไหล่ซ้าย

หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบนั่งพัก และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพราะอาการเหล่านี้…เป็นส่วนหนึ่งของ “ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด”

ภาพจาก : www.synphaet.co.th

การรักษาภาวะหัวใจวายหรือหัวล้มเหลว มีดังนี้

1.การรักษาด้วยยา มีวัตถุประสงค์เพื่อลอัตรากาตาย เพิ่มความสามารถในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ลดภาระการทำงานของหัวใจ ป้องกันและชะลอการเสื่อมของหัวใจ ลดอาการรุนแรง ป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นและทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ยาที่ใช้ในการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวประกอบด้วย กลุ่มยาขับปัสสาวะ กลุ่มยายับยั้งเอ็นไซน์แองจิโอเทนชิน กลุ่มยาปิดกั้นเบตัา กลุ่มยาดิจิทาลิส กลุ่มยาไนเตรท

2.รักษาด้วยการใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อช่วยในการบีบตัว (Cardiac Resynchronization Therapy: CRT) หรืออุปกรณ์อื่นตามข้อบ่งชี้ เพื่อลดภาระการทำงานของหัวใจและเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ

3.การรักษาด้วยการผ่าตัด ได้แก่ การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยจะทำการผ่าตัดเมื่อพบว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยการต่อเพิ่มหลอดลือดใหม่กับหลอดเลือดหัวใจ ทำให้มีเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจเพิ่มขึ้น การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โดยจะทำการผ่าตัดเมื่อหัวใจมีการทำลายจนไม่สามารถกลับคืนมาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อกรรักษาหรือการบำบัดอื่นๆ หรือมีข้อบ่งชี้ว่าระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวอยู่ในระยะสุดท้าย

4.การรักษาด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรมการดำนินชีวิต เพื่อเป็นการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจลัมเหลวในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและป้องกันการกำเริบของโรค ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับ

ความรู้และคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ดังนี้

  • ควรงดสูบบุหรี่ เนื่องจากสารนิโคตินในบุหรี่ทำให้หลอดเลือดหดตัว การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีผลต่อการนำออกชิเจนเข้าสู่เนื้อเยื่อ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 ครั้งต่อสัปดาห์
  • หลีกเลี่ยงการบริโภคเกลือและอาหารที่มีส่วนประกอบของโชเดียม (Sodium) ในปริมาณมากเกินไป โชเดียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งซึ่งพบได้ในอาหารตามธรรมชาติ เช่นข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ มีมากในเครื่องปรุงรส เช่น เกลือ น้ำปลา ชีอิ๊ขาว ซอสหอยนางรม ผงชูรส และมีในอาหารปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง อาหารหมักดองเป็นต้น ปริมาณโชเดียมที่แนะนำคือน้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

ที่มา : www.springnews.co.th

PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com
Exit mobile version